TOD สร้างสุขได้อย่างไร?

TOD กระตุ้นเศรษฐกิจ ยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ความคุ้มค่าในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชนจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร ที่จะเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ภาครัฐลงทุนพัฒนา

เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

ด้วยโครงข่ายที่เชื่อมโยงกันอย่างบูรณาการ เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจ เขตการค้าชายแดน จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ ส่งเสริมด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และเพิ่มขีดความสามารถของประเทศไทยในการแข่งขันระดับอนุภูมิภาคภายใต้กรอบความร่วมมือต่างๆ

ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน

หากระบบขนส่งสาธารณะมีประสิทธิภาพ ประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องซื้อรถยนต์

คุ้มค่าการลงทุน

ด้วยพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง ที่เป็นทั้งย่านที่พักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ พร้อมทั้งความสะดวกสบายด้านการคมนาคม เพราะอยู่โดยรอบสถานี จึงสามารถเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้เข้ามาในพื้นที่และเลือกใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะได้ ทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น และทำให้ระบบคงอยู่ได้

กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น

การพัฒนาตามหลัก TOD ในพื้นที่ส่วนภูมิภาคจะช่วยกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่นได้ หากในพื้นที่มีทุกอย่างพร้อม ทั้งแหล่งงาน อัตลักษณ์ท้องถิ่น การบริหารจัดการภาครัฐที่ดี เศรษฐกิจดี สังคมดี ประชาชนจะสามารถทำงานหรือใช้ชีวิตของตนได้อย่างมีความสุข

เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น

จากความหนาแน่นของประชากรและการลงทุนของธุรกิจต่างๆ ภายในเมืองทำให้รัฐสามารถเก็บภาษีบำรุงท้องที่ได้มากขึ้น มีทุนสำหรับนำไปบำรุงรักษาและพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการของเมืองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โอกาสในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาพื้นที่และระบบขนส่งมวลชน

ด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสาน ทั้งย่านพาณิชยกรรม ย่านสำนักงาน ย่านที่พักอาศัย ลานกิจกรรม และพื้นที่สีเขียว ส่งเสริมเมืองให้น่าอยู่ และเกิดโอกาสในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต่อไป

ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น

เนื่องจากเป็นเมืองที่มีการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างคุ้มค่า มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และมีระบบขนส่งมวลชนที่สะดวกสบายรองรับ เหมาะแก่การอยู่อาศัย และการลงทุนทำธุรกิจต่างๆ ทำให้ที่ดิน ที่พักอาศัย และสำนักงานที่อยู่ในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงมีมูลค่าสูงขึ้น

โอกาสในการจ้างงานและธุรกิจใหม่ที่มากขึ้น

ด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสานทั้งย่านพาณิชยกรรม ย่านสำนักงาน และลานกิจกรรม ตั้งอยู่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน รวมถึงความหลากหลายของประชาชนในเมือง จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ ทำให้เกิดการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ประชาชนในพื้นที่

 

แล้วประชาชนในพื้นที่จะได้อะไร?

ด้วยการวางผังและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ TOD จึงสร้างสุขให้ผู้อยู่อาศัย ดังนี้

จากการมี “ความปลอดภัย” ที่มากขึ้น

ลดปัญหาจราจร ลดอุบัติเหตุ จากการเดินและปั่นจักรยาน สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

 

จำกัดความเร็วของรถยนต์ และพื้นที่ถนนสำหรับรถยนต์

 

มีสิ่งอำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัยครบครัน เช่น Skywalk ทางม้าลาย สัญญาณไฟคนข้ามถนนไฟฟ้าส่องสว่าง ทางลาดสำหรับรถวีลแชร์ และลิฟต์โดยสาร

 

เมืองที่เป็นมิตรกับทุกชีวิต ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ

จากการมี “ค่าใช้จ่าย” ลดลง “รายได้” เพิ่มขึ้น

เพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

เพิ่มมูลค่าที่ดิน สร้างรายได้ให้แก่พื้นที่จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ทั้งร้านค้า ห้าง อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ

 

ลดการใช้น้ำมันประหยัดพลังงาน

 

ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยรถยนต์

 

แหล่งงานเพิ่มขึ้นและหลากหลายขึ้น

จากการมี “ความสะดวกสบาย” ที่เพิ่มขึ้น

เมืองกระชับ เข้าถึงง่ายด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

 

เชื่อมต่อและเข้าถึงสถานีขนส่งสาธารณะหรือสถานที่ต่างๆ ด้วยการเดิน/ปั่น ง่ายดาย

 

มีระบบขนส่งมวลชนขนาดรองอื่นๆ ที่เหมาะสมกับเมือง เช่น รถบัส โมโนเรลเชื่อมกับพื้นที่ต่างๆ ที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต เช่น ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน สถานศึกษา สถานพยาบาล และบริการสาธารณะอื่นๆ

จากการมี “สุขภาพจิต” ที่ดีขึ้น

ภาคภูมิใจกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น

 

มีพื้นที่สีเขียวให้พักผ่อนหย่อนใจ ปอดแห่งใหม่ของเมือง

 

ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตกับปัญหาต่างๆ ของเมืองทั้งปัญหาจราจรและมลพิษ

จากการมี “เวลา” ที่มากขึ้น

เดินทางสะดวกสบาย กำหนดเวลาเดินทางได้ ลดเวลาการเดินทาง

 

มีเวลาพักผ่อน อยู่กับครอบครัว ออกกำลังกาย เล่นกีฬา และทำงานอดิเรกมากขึ้น

จากการมี “สุขภาพกาย” ที่ดีขึ้น

ไปทำงาน ซื้อของ หรือออกกำลังกาย ด้วยการเดิน และปั่น

 

มลพิษลดลง อากาศสะอาดขึ้น หายใจได้เต็มปอด

จากการมี “ชีวิต” ที่ดีขึ้น

มีพื้นที่พบปะสังสรรค์ ลานกิจกรรม ลานดนตรี สร้างสีสันให้แก่ชีวิต

 

เพิ่มทางเลือกในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ

  • ติดต่อโครงการ

  • สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม
  • เลขที่ 35 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท
    เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • โทรศัพท์ 0-2215-1515 ต่อ 4002 และ 4019
  • E-mail : webmaster@otp.go.th