TOD แก้ปัญหาได้อย่างไร?

 

 

TOD ปรับเปลี่ยนการขยายตัวของเมืองแบบกระจัดกระจายให้เป็นเมืองกระชับ ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและมีประสิทธิภาพด้านการคมนาคมขนส่งสูง ช่วยลดภาวะการเติบโตของเมืองอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) สร้างเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

 

 

TOD เปลี่ยนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวเป็นการขนส่งอย่างยั่งยืน

 

บรรเทาปัญหาด้านการจราจรและขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการแก้ปัญหาที่สาเหตุ นั่นคือ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสาธารณะ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะที่ก่อมลพิษน้อย

 

 

ส่งเสริมการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะและการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ ด้วยการสร้างบรรยากาศและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเดินเท้า (Walking) และการปั่นจักรยาน (Bicycling) ภายในรัศมีการเดินเท้าจากสถานีขนส่งสาธารณะ เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว

 

 

 

TOD พัฒนาพื้นที่ใหม่ ลงตัวกับทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ทั้งย่านพักอาศัย ย่านการค้า ย่านธุรกิจ และพื้นที่สาธารณะ มีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการครบครันที่ประชาชนทุกคนเข้าถึงได้ ซึ่งมักจะกำหนดให้มีขอบเขตอยู่ในระยะเดินเท้าจากสถานีขนส่งสาธารณะ และยังเป็นระยะที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และลดการใช้พลังงาน

 

เครื่องมือทางผังเมือง ที่นำมาใช้ในการพัฒนา TOD

  • การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (Planned Unit Development : PUD)
  • การโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Right : TDR)
  • การกำหนดพื้นที่เพื่อส่งเสริมและควบคุมแบบซ้อนทับ (Overlay Control)
  • ผังเมืองเฉพาะ
  • ข้อบัญญัติท้องถิ่น
  • การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
  • การจัดกรรมสิทธิ์เพื่อการฟื้นฟูเมือง
  • พระราชบัญญัติพื้นที่เฉพาะ
  • การแก้ไขโซนนิ่ง

 

 

  • ติดต่อโครงการ

  • สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม
  • เลขที่ 35 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท
    เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • โทรศัพท์ 0-2215-1515 ต่อ 4002 และ 4019
  • E-mail : webmaster@otp.go.th